โครงการศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล
2020-2021
จำนวนความหลากชนิดที่พบ
220
ชนิด
220
บทคัดย่อ
“การศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล” การศึกษาอนุกรมวิธานของเห็ดรา เพื่อจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพเห็ดราขนาดใหญ่ที่พบภายในพื้นที่ศึกษา และศึกษาการใช้ประโยชน์ฯ เพื่อค้นหาศักยภาพที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อศึกษาในเชิงลึก หรือ พัฒนาเชิงอาชีพของประชากรภายในพื้นที่ตามหลักการของการเป็นสตูลจีโอพาร์ค เน้นความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผลจากการดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานส่งต่อวิธีการ แนวทาง วัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณเห็ดที่มีศักยภาพให้วิสาหกิจชุมชนคัดเลือกจากกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการรวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งในการดำเนินอาชีพ และพื้นที่อยู่ในเขต สตูลจีโอพาร์ค สองอำเภอคือ อำเภอทุ้งหว่าและอำเภอระงู โดยเชื่อมต่อโครงการ อว. 9000 จ้างงานคนในท้องถิ่นจำนวน 20 คนเพื่อร่วมศึกษาทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นพบว่าโครงการสำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดราได้จำนวน 606 ตัวอย่าง จำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุลแล้วเสร็จร้อยละ 80 จากตัวอย่างทั้งหมดพบความหลากชนิดจำนวน 220 ชนิด ตัวอย่างแห้งได้รับการจัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิง เก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา เรียบร้อย จากความหลากหลายดังกล่าวได้จัดทำเอกสารแสดงความหลากหลายทางชีวภาพฯเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินซ้ำของ UNESCO และนำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการประเมินพื้นที่สตูลจีโอพาร์คในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ซึ่ง โครงการจึงจัดทำแปลงศึกษา 2 แปลง ในพื้นที่อำเภอทุ้งหว้า ขนาด 800 ตารางเมตร์และ อำเภอระงู 2400 ตารางเมตร เพื่อทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพรรณไม้ที่กำลังออกดอกหรือออกผลเบื้องต้นพบทั้งหมด 7 วงศ์ ซึ่งได้จัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิงเก็บเพื่อการจำแนกชนิดในลำดับถัดไป ประเด็นการศึกษาด้านศักยภาพการใช้ประโยชน์พบว่าเห็ดราดังกล่าวสามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์และจัดเก็บได้จำนวน 162 สายพันธุ์ ผ่านการวิเคราะห์ยืนยันชนิดด้วยวิธีชีวโมเลกุล และนำไปวิเคราะห์การสร้างเอนไซม์ และ กรดไขมันจำนวน 99 สายพันธุ์ พบว่า เห็ดสายพันธุ์ต่างๆสามารถสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆทั้งที่ใช้สำหรับย่อยสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน สอดคล้องกับบทบาทของเชื้อเห็ดที่แยกได้ในระบบนิเวศน์ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลาย มีประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นสารมูลค่าสูง ได้แก่ พลังงานเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์ต่างๆ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ การฟอกสี และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำเชื้อเห็ดใช้ในผลิตเอนไซม์ทางการค้าเพื่อใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เอนไซม์แลคเคสซึ่งใช้ในการฟอกสี กางเกงยีนส์ เป็นต้น
บทสรุปโครงการ
“การศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล” แบ่งประเด็นการศึกษาเป็นสองส่วนหลักที่สำคัญด้านแรกคืออนุกรมวิธานของเห็ดรา เพื่อจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพเห็ดราขนาดใหญ่ที่พบภายในพื้นที่ศึกษา ด้านที่สองคือการใช้ประโยชน์ฯ เพื่อค้นหาศักยภาพที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อศึกษาในเชิงลึก หรือ พัฒนาเชิงอาชีพของประชากรภายในพื้นที่ตามหลักการของการเป็นสตูลจีโอพาร์ค เน้นความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผลจากการดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานส่งต่อวิธีการ แนวทาง วัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณเห็ดที่มีศักยภาพให้วิสาหกิจชุมชนคัดเลือกจากกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการรวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งในการดำเนินอาชีพ และพื้นที่อยู่ในเขต สตูลจีโอพาร์ค สองอำเภอคือ อำเภอทุ้งหว่าและอำเภอระงู โดยเชื่อมต่อโครงการ อว. 9000 จ้างงานคนในท้องถิ่นจำนวน 20 คนเพื่อร่วมศึกษาทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นพบว่าโครงการสำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดราได้จำนวน 606 ตัวอย่าง จำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุลแล้วเสร็จร้อยละ 80 จากตัวอย่างทั้งหมดพบความหลากชนิดจำนวน 220 ชนิด ตัวอย่างแห้งได้รับการจัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิง เก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา เรียบร้อย จากความหลากหลายดังกล่าวได้จัดทำเอกสารแสดงความหลากหลายทางชีวภาพฯเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินซ้ำของ UNESCO และนำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการประเมินพื้นที่สตูลจีโอพาร์คในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ซึ่งในอนาคตจำเป็นต้องมีการดำเนินงานด้านการสำรวจทรัพยากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรายงานความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรต่างๆในท้องถิ่น โครงการจึงจัดทำแปลงศึกษา 2 แปลง ในพื้นที่อำเภอทุ้งหว้า ขนาด 800 ตารางเมตร์และ อำเภอระงู 2400 ตารางเมตร เพื่อทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพรรณไม้ที่กำลังออกดอกหรือออกผลเบื้องต้นพบทั้งหมด 7 วงศ์ ซึ่งได้จัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิงเก็บเพื่อการจำแนกชนิดในลำดับถัดไป ประเด็นการศึกษาด้านศักยภาพการใช้ประโยชน์พบว่าเห็ดราดังกล่าวสามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์และจัดเก็บได้จำนวน 162 สายพันธุ์ ผ่านการวิเคราะห์ยืนยันชนิดด้วยวิธีชีวโมเลกุล และนำไปวิเคราะห์การสร้างเอนไซม์ และ กรดไขมันจำนวน 99 สายพันธุ์ พบว่า เห็ดสายพันธุ์ต่างๆสามารถสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆทั้งที่ใช้สำหรับย่อยสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน สอดคล้องกับบทบาทของเชื้อเห็ดที่แยกได้ในระบบนิเวศน์ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลาย ซึ่งลักษณะเด่นที่สำคัญมีคุณสมบัติสร้างเอนไซม์เซลลูเลส ไซแลนเนส และแลคเคส ซึ่งเป็นเอนไซม์กลุ่มย่อยสลายไม้ได้ดี สอดคล้องกับผลการค้นพบเห็ดซึ่งเจริญบนไม้เนื้อแข็ง เช่น ท่อนไม้ และตอไม้ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต องค์ประกอบหลักของผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยลิกนิน เฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลส นอกจากนั้นแล้วเอนไซม์กลุ่มนี้ยังมีประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นสารมูลค่าสูง ได้แก่ พลังงานเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์ต่างๆ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ การฟอกสี และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำเชื้อเห็ดใช้ในผลิตเอนไซม์ทางการค้าเพื่อใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เอนไซม์แลคเคสซึ่งใช้ในการฟอกสี กางเกงยีนส์ ซึ่งเห็ดในสกุลดังกล่าวพบจากพื้นที่เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นคุณสมบัติในการสร้างกรดไขมันของเห็ดจากโครงการนี้พบว่า เห็ดส่วนใหญ่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง C18:1 และ C18:2 ในสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 50 ปริมาณกรดไขมันรวมของเห็ดส่วนใหญ่ พบว่ามีปริมาณค่อนข้างต่ำคือ 1-6% ยกเว้นสายพันธุ์ที่มีปริมาณสูงถึง 10-17% ได้แก่ Trichaptum cf. durum (RSPG01956) เป็นต้น สำหรับเชื้อเห็ดที่เหมาะกับการท่องเที่ยวเช่นเชื้อเห็ดเรืองแสงที่สามารถเพิ่มปริมาณในพื้นที่และสร้างสารเรืองแสงคือ Filoboletus manipularis และเชื้อเห็ดที่มีศักยภาพด้านเภสัชวิทยา คือเห็ดกลุ่มหลินจือซึ่งพบทั้งหมด 7 สายพันธุ์ติดกับเขตอนุรักษ์มีศัยกภาพในการพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน เช่น Ganoderma australe, G. boninense, G. cf. fornicatum, G. gibbosum, G. nasalanense, G. neojaponicum, และ G. subresinosum การดำเนินงานเหล่านี้ยังต้องได้รับการศึกษาต่อทั้งด้านความหลากหลายและการใช้ประโยชน์เพื่อความยั่งยืนของทรัพยกรชีวภาพ
จำนวนตัวอย่างที่พบ
606
จำนวนความหลากชนิด
220
พื้นที่วิจัย
สตูลจีโอพาร์ค
การเผยแพร่องค์ความรู้
พื้นที่อุทยานธรณีโลกหลายเส้นทางศึกษาธรรมชาตินั้นมีเห็ดที่หลากหลายเป็นประเด็นหลักในการทำงานวิจัยครั้งนี้ รวมถึงมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว จากกลุ่มเห็ดสวยงาม เช่น เห็ดแชมเปญ หรือ กลุ่มเห็ดรับประทานได้นำมาเพาะเลี้ยงเพิ่มรายได้และสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งผลให้เกิดรายได้เสริม เศรษฐกิจหมุนเวียนจากฐานราก และเพิ่มอาชีพในกับชุมชน เป็นต้น ทีมวิจัยวางแผนการสำรวจครั้งต่อไปหลังจากการปลดล็อกระยะ 4 จากภาครัฐ ซึ่งสามารถเดินทางได้ อบรมกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งได้งบประมาณการจ้างแรงงานในท้องถิ่น จังหวัดสตูล เพื่อบรรเท่าผลกระทบในช่วงระยะเวลาที่เกิดขึ้น ทีมวิจัยวางแนวทางการสำรวจ กำหนดพื้นที่อย่างชัดเจน และวางแผนเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยคิดว่าไม่มีผลกระทบต่อเป้าหมายของโครงการที่กำหนด เนื่องจาก มีระยะเวลาทำงานภาคสนามเพียง 3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นการทำงานด้านอนุกรมวิธานจะตอบโจทย์เรื่องบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพเห็ดราขนาดใหญ่จาก สตูลจีโอพาร์ค เพื่อส่งต่อ UNESCO ในขณะที่การทำงานด้านประโยชน์ของเห็ดราขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบด้านการดำรงอยู่ของ สตูลจีโอพาร์ค กับชุมชนโดยรอบให้มีส่วนร่วมได้อย่างกลมกลืน ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงและเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจตามหลักการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่น การถ่ายทอดการสำรวจ เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่างทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในหลายรุ่นอายุ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน จึงต้องใช้เยาวชน ทำให้เยาวชนมีส่วนร่วมมากขึ้น การพัฒนามัคคุเทศน์น้อยส่งผลให้เกิดการสนใจในธรรมชาติและเกิดความรักธรรมชาติ ส่งผลถึงการอนุรักษ์ รักษา ธรรมชาติกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจากงานนี้ผลกระทบคือ ความยั่งยืนของชุมชนเรื่องของการท่องเที่ยวผ่านการศึกษาร่วมหลายรุ่นอย่างกลมกลืน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่น การถ่ายทอดการสำรวจ เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่างทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในหลายรุ่นอายุ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน จึงต้องใช้เยาวชน ทำให้เยาวชนมีส่วนร่วมมากขึ้น การพัฒนามัคเทศนน้อยส่งผลให้เกิดการสนใจในธรรมชาติและเกิดความรักธรรมชาติ ส่งผลถึงการอนุรักษ์ รักษา ธรรมชาติกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจากงานนี้ผลกระทบคือ ความยั่งยืนของชุมชนเรื่องของการท่องเที่ยวผ่านการศึกษาร่วมหลายรุ่นอย่างกลมกลืน
การมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านโครงการจ้างงานจากผลกระทบของ COVID19 อว. 9000 บาท โดยให้ทีมแกนนำร่วมสำรวจกับทีมนักวิจัย เพื่อศึกษาเห็ดในธรรมชาติ สังเกตความสวยงาม เข้าใจบทบาทของเห็ดที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อรู้จักทรัพยากรในถิ่นของตน อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ส่งความรู้ต่อให้รุ่นลูกหลาน เพื่อสังเกตุการคงอยู่และหายไปของทรัพยากรในท้องถิ่น รวมถึงค้นหาชนิดที่มีศักยภาพเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด ภายใต้ความต้องการของชุมชน
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมใหญ่คือ นักวิจัยจากสวทช.ร่วมลงพื้นที่กับชุมชน และภาครัฐสำรวจเก็บตัวอย่างและศึกษาทรัพยากรชีวภาพร่วมกัน เนื่องจากช่วงต้นปี 63 เกิดสถานการณ์ไวรัสระบาดทำให้ปิดกั้นการเดินทางและต้องปรับแผนการดำเนินกิจกรรม เมื่อ สำนักปลัดกระทรวง อว. มีโครงการจ้างงานผู้ประสบภัยจากการระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ทำให้นักวิจัย สวทช. ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ รวมกลุ่มหารือกับชุมชน จ้างงานคนของสองตำบลคือ ทุ้งหว้า และ ระงู จำนวน 13 คนเป็นแกนนำร่วมศึกษาไปกับนักวิจัย สวทช. เพื่อนำองค์ความรู้ วิธีการ การศึกษาและแนวทางพัฒนาเก็บไว้และถ่ายทอดในท้องถิ่น
พบว่ากิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเก็บข้อมูลทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นจำนวนมากกว่า 300 ข้อมูล พบว่าข้อมูลเห็ดมีจำนวนมากกว่า แต่กลับมีข้อมูลการใช้ประโยชน์น้อยกว่าแสดงให้เห็นถึงชุมชนรู้จักเห็ดราน้อยมาก แต่เมื่อชุมชนเข้าใจวิธีการศึกษา เช่นการสังเกตุการขึ้น การอาศัยร่วมระหว่างสิ่งมีชีวิต ความเกี่ยวพันธุ์และบทบาทในธรรมชาติ ทำให้เข้าใจถึงระบบนิเวศน์ และมีความต้องการการอนุรักษ์ และ ต้องการสำรวจสูงขึ้น จนขึ้นทะเบียนกลุ่มท่องเที่ยวชมป่าหาเห็ดไปพร้อมกับการดูฟอสซิล ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งทำให้เพิ่มกิจกรรมในการท่องเที่ยว พบว่าการสนับสนุนการท่องเที่ยวนั้นต้องหาจุดเด่นของพื้นที่ที่นอกเหนือจากฟอสซิลแล้ว ยังมีทรัพยากรอื่นที่น่าสนใจอีกเช่น เห็ดเรืองแสง เห็ดถ้วย เห็ดปะการัง เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพิ่มปริมาณได้และทำให้เกิดความสวยงามในฤดูฝนหรือ ปลายฝนต้นหนาวซึ่งเหมาะกับการท่องเที่ยว